วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 6

1. อธิบายภารกิจหรือกิจกรรมที่สาคัญ ๆ ของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้มีอะไรบ้าง
ตอบ 1. การเลือก จัดหา การลงทะเบียน ทาบัตรรายการ การบริการการใช้ ตลอดจนเก็บบารุงรักษาวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอนต่างๆ
2. การผลิตสื่อการสอน เช่น ผลิตวัสดุกราฟิก การบันทึกเสียง ทารายการวิทยุและโทรทัศน์
3. จัดกิจกรรมทางวิชาการ เช่น การฝึกอบรมครูประจาการ การวิจัย การจัดนิทรรศการ ตลอดจนการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ฯลฯ
4. การบริหาร เช่น การจัดบุคลากร การนิเทศ การบันทึกรายการ การติดต่อประสานงานและการทางบประมาณ เป็นต้น
5. การประเมินกิจกรรมต่างๆ


2. ถ้าหากพิจารณาบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ จะประกอบด้วยบุคคลด้านใดบ้าง

ตอบ 1. ด้านบริหาร โดยต้องมีการกาหนดวิสัยทัศน์ จุดมุ่งหมายและภารกิจต่างๆ ให้ครอบคลุมงานหรือสิ่งที่ต้องทา
2. ด้านการบริการ เป็นภารกิจของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ที่นาโครงการต่างๆออกสู่ กลุ่มเป้าหมาย
3. ด้านวิชาการ ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ต้องมีบทบาทและหน้าที่ในการศึกษาค้นคว้า พัฒนาและเผยแพร่ผลงาน สร้างวัตกรรมใหม่เกี่ยวกับการผลิตและการใช้สื่อ จัดการฝึกอบรม การเผยแพร่ความรู้ การประเมินคุณภาพสื่อ การประเมินการบริการ
4. ด้านการปรับปรุงการเรียนการสอน ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ต้องมีภารกิจหน้าที่ความรับผิดชอบต่อการศึกษาเป็นสำคัญในการจัดหาสื่อมาใช้ในการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและเนื้อหาแต่ละวิชา ตามความจาเป็นให้เพียงพอและยังมีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือแก่ครูอาจารย์ในด้านต่างๆเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษา
5. ด้านกิจกรรมอื่น เช่น มีบทบาทหน้าที่ประชาสัมพันธ์สถาบันต่อชุมชนจัดนิทรรศการหรือจัดการแสดงความก้าวหน้าต่างๆ ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ควรมีกิจกรรมเพื่อให้ความรู้แก่สังคมและจัดแสดงสาธิตนวัตกรรมและเทคโนโลยีให้กับผู้สนใจ การจัดกิจกรรมลักษณะนี้ถือว่าเป็นการประชาสัมพันธ์อย่างหนึ่ง


3. ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ จำแนกเป็นประเภทที่สาคัญได้กี่ประเภท

ตอบ ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สามารถแบ่งได้ 3 ประเภทใหญ่ๆคือ
1. บุคลากรทางวิชาชีพ (Professional Staff) ได้แก่ บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ทางด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาหรือโสตทัศนศึกษาระดับปริญญาซึ่งถือว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ (Media Specialists) หรือบางที่อาจเรียกว่านักวิชาการการโสตทัศนศึกษาก็ได้ส่วนใหญ่บุคลากรกลุ่มนี้จะทาหน้าที่เป็นหัวหน้าหรือผู้บริหาร
2. บุคลากรกึ่งวิชาชีพ (Paraprofessional Staff) บุคลากรกึ่งวิชาชีพ คือ บุคคลที่ได้วุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพโดยมีหน้าที่ช่วยเหลือบุคลากรทางวิชาชีพเกี่ยวกับด้านเทคนิคหรือด้านบริการ บุคลากรกึ่งวิชาชีพ
3. บุคลากรที่ไม่มีความรู้ทางวิชาชีพ (Non-professional Staff) บุคลากรประเภทนี้ทาหน้าที่ทางด้านธุรกิจ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ฯลฯ ซึ่งจะมีคุณวุฒิหลากหลายจะใช้ความรู้ความชานาญเฉพาะในหน้าที่ของตน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าจานวนบุคคลในแต่ละประเภทจะมีมากหรือน้อยย่อมขึ้นอยู่กับนโยบาย ขนาดหรือปริมาณของงาน ขอบเขตของการให้บริการ ลักษณะของระบบงานบริการ จานวนผู้ใช้บริการ และงบประมาณของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้แต่ละแห่งเป็นสาคัญ


4. ท่านมีขั้นตอนในการจัดหาสื่อการเรียนการสอน มาใช้บริการในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้อย่างไร จงอธิบาย

ตอบ 1. การจัดหาสื่อเพื่อบริการ
2. การดาเนินการบริการ
3. การบำรุงรักษาสื่อ
4. การฝึกอบรม การวิจัย การพัฒนา ฯลฯ
5. การประเมิน
6. การประชาสัมพันธ์

5. อธิบายวิธีการจัดซื้อจัดหาวัสดุครุภัณฑ์เพื่อมาใช้ในกิจกรรมและบริการ ท่านมีหลักเกณฑ์สาคัญ อะไรบ้าง

ตอบ การจัดการหาสื่อเพื่อบริการ ในการจัดหาสื่อมาไว้บริการภายในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว มีระบบ ระเบียบ สามารถแบ่งออกเป็นขันตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 เป็นขั้นการสารวจสภาพของสื่อในสถานศึกษาเพื่อสารวจหาข้อเท็จจริงเบื้องต้นเป็นข้อมูลมาประกอบการจัดหา ได้แก่
1. การสำรวจสื่อวัสดุ (Materials) การสารวจสื่อวัสดุมีรายการที่ต้องการทราบ คือ
- ชนิดของวัสดุ
- ชื่อเรื่อง
- แหล่งที่เก็บ (Location)
- แหล่งที่ได้มา
- สภาพการใช้งานปัจจุบัน
2. การสำรวจเครื่องมือ (Equipments)
- ชนิดของเครื่องมือ
- แบบ/รุ่น
- แหล่งที่เก็บ
- แหล่งที่ได้มา

วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 5


1. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ถ้าแบ่งตามกลุ่มเป้าหมายของระบบการศึกษาได้กี่ประเภท อะไรบ้าง จงอธิบาย

ตอบ 3 ประเภท ดังนี้

1. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษาในระบบโรงเรียน หมายถึง หน่วยงานที่สนับสนุนการเรียนการสอนทั้งสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ซึ่งมีการดำเนินการได้หลายลักษณะและมีชื่อเรียกต่างกัน ทั้งศูนย์วัสดุการเรียน, ศูนย์โสตทัศน์และห้องสมุด, ศูนย์วัสดุอุปกรณ์การศึกษา ศูนย์สื่อการสอน, ศูนย์โสตทัศนวัสดุ, ศูนย์วัสดุการสอนหรือศูนย์วัสดุการศึกษา ศูนย์โสตทัศนูปกรณ์หรือหน่วยบริการโสตทัศนูปกรณ์, สำนักเทคโนโลยีการศึกษา, ศูนย์เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา เป็นต้น

2. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษานอกระบบ เป็นศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ ที่มีเป้าหมายโดยมุ่งการให้บริการกับผู้เรียนที่มีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนได้รับความรู้ด้านพื้นฐาน ทักษะในการประกอบอาชีพ และทักษะที่จำเป็นสำหรับความรู้ด้านอื่นๆ เป็นฐานในการดำรงชีวิต เช่น ศูนย์ฝึกอาชีพ, ศูนย์การเรียน เป็นต้น

3. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นศูนย์รวมและให้บริการความรู้โดยมุ่งให้กลุ่มเป้าหมายได้ศึกษาจากประสบการณ์การทำงาน บุคคล ครอบครัว สื่อมวลชน ชุมชน แหล่งความรู้ต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความบันเทิง และการพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ เป็นต้น

2.ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร จงอธิบาย

ตอบ - ประเภทศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษาในระบบโรงเรียน มุ่งสนับสนุนการเรียนการสอนทั้งสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ และมีการดำเนินการในหลายลักษณะ ทั้งศูนย์วัสดุการเรียนและศูนย์โสตทัศน์และห้องสมุด เป็นต้น

- ประเภทศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษานอกระบบ มุ่งให้ผู้เรียนได้รับความรู้พื้นฐาน ทักษะในการประกอบอาชีพ และทักษะที่จำเป็นสำหรับความรู้ด้านอื่นๆ ซึ่งเป็นฐานในการดำรงชีวิต เช่น ศูนย์ฝึกอาชีพ, ศูนย์การเรียน เป็นต้น

- ประเภทศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษาตามอัธยาศั มุ่งผู้เรียนได้ศึกษาจากประสบการณ์การทำงาน บุคคล ครอบครัว สื่อมวลชน ชุมชน แหล่งความรู้ต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความบันเทิง และการพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ เป็นต้น

3.ให้นิสิตหาตัวอย่างศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ประเภท ละ 3 ศูนย์ พร้อมบอกสถานที่ตั้ง และกลุ่มเป้าหมายของศูนย์นั้น ๆ พร้อมแหล่งอ้างอิง

ตอบ - ประเภทศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษาในระบบโรงเรียน

ตัวอย่าง ที่ 1 ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท ปทุมวัน กรุงเทพ 10330 กลุ่มเป้าหมาย : เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาที่เพียบพร้อม สมบูรณ์ด้วยทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภทที่มีมาตรฐาน สามารถให้บริการสนองความต้องการด้านการเรียน การสอน การวิจัย และความใฝ่รู้ของประชาคมมหาวิทยาลัย และสังคม

แหล่งอ้างอิง : http://www.car.chula.ac.th/aboutus/

ตัวอย่าง ที่ 2 ศูนย์โสตทัศนศึกษากลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวหน้า :นายบรรพต สร้อยศรีโทรศัพท์ :0-2218-2947สถานที่ :ชั้น 3 ศูนย์วิทยทรัพยากรe-Mail :banphot.s@car.chula.ac.th

กลุ่มเป้าหมาย : สนับสนุนการเรียนการสอน การค้นคว้าวิจัยของอาจารย์ นิสิต บุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตลอดจนบุคลากรภายนอกมหาวิทยาลัย

แหล่งอ้างอิง : http://www.car.chula.ac.th/aboutus/10/

ตัวอย่าง ที่ 3 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เลขที่ 2 ถนนพระจันทร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200

กลุ่มเป้าหมาย : ส่งเสริมการเรียนการสอน การวิจัยของมหาวิทยาลัย สนับสนุนและบริการทางวิชาการแก่สังคมตามอุดมการณ์ของมหาวิทยาลัย

แหล่งอ้างอิง : http://library.tu.ac.th/tulib/index.php/about-us/vision-mission

- ประเภทศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษานอกระบบ

ตัวอย่าง ที่ 1 ศูนย์ฝึกอาชีพกรุงเทพมหานครบางพลัด ตั้งอยู่ ซอยจรัลสนิทวงศ์ 79 ถนนจรัลสนิทวงศ์ เขตบางพลัด กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 0 2423 2025 – 26

กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ที่สนใจฝึกอบรมอาชีพ

แหล่งอ้างอิง : http://archeep-nutmag10.blogspot.com/2011/01/blog-post_25.html

ตัวอย่าง ที่ 2 ศูนย์ฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยรามคำแหง (หัวหมาก)

ฝ่ายพัฒนาชุมชนฯ สำนักงานเขตบางกะปิ โทร.02369-2823-4

กลุ่มเป้าหมาย : สำหรับผู้ว่างงานและประชาชนทั่วไป
แหล่งอ้างอิง : http://www.info.ru.ac.th/Training%20center-Bkk_in_Ram/index.htm

ตัวอย่าง ที่ 3 ศูนย์ฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร วัดสุทธาวาส บางกอกน้อย วัดสุทธาวาส ถนนจรัญสนิทวงศ์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ ตามนี้เลยครับ 02-412 4611-2

กลุ่มเป้าหมาย : สำหรับผู้ว่างงานและประชาชนทั่วไป

แหล่งอ้างอิง : http://archeep-center.blogspot.com/2010/10/blog-post_4528.html

- ประเภทศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษาตามอัธยาศัย

ตัวอย่าง ที่ 1 มิวเซียมสยามพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ เลขที่ 4 ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200โทรศัพท์ 02 225 2777โทรสาร 02 225 2775

กลุ่มเป้าหมาย : บุคลทั่วไปและบุคคลสนใจ

แหล่งอ้างอิง : http://www.me-dzine.com/place/Museum-Siam.html

ตัวอย่าง ที่ 2 พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้อุตุนิยมวิทยา ณ กรมอุตุนิยมวิทยา บางนา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ประชาสัมพันธ์ กรมอุตุนิยมวิทยา โทร. 02-399-4568 ถึง 74

กลุ่มเป้าหมาย : ผู้สนใจ

แหล่งอ้างอิง : http://www.tmd.go.th/

ตัวอย่าง ที่ 3 พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย ตั้งอยู่เลขที่ 43/2 หมู่ 1 ถ.ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม

กลุ่มเป้าหมาย : บุคลทั่วไปและบุคคลสนใจ

แหล่งอ้างอิง : http://www.nctv.co.th/nakornpathomnctv/hunkeypung.ht

4. ให้นิสิตแต่ละคน หาตัวอย่างของศูนย์สำหรับการศึกษาตามอัธยาศัยมา คนละ 1 ศูนย์ โดยต้องอธิบายดังรายละเอียดต่อไปนี้

4.1 นโยบาย ของศูนย์ วิสัยทัศน์ และกลุ่มเป้าหมายของศูนย์

4.2 แหล่งที่มาของศูนย์

4.3 แผนการดำเนินงาน (ถ้ามี)

ตอบ มิวเซียมสยามพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ เลขที่ 4 ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200โทรศัพท์ 02 225 2777โทรสาร 02 225 2775

4.1 นโยบาย ของศูนย์ วิสัยทัศน์ และกลุ่มเป้าหมายของศูนย์ :

เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ให้ความรู้เรื่องความเป็นมาของ บ้านเมือง จนมาเป็นประเทศไทยในปัจจุบัน เพื่อก่อเกิดการเรียนรู้ สร้างสำนึกรักบ้านเมืองและท้องถิ่นของตน รวมทั้งเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในลักษณะ"เครือญาติ" กับประเทศเพื่อนบ้านอันเป็นองค์ความรู้ที่นำไปสู่ความมั่นคงและสันติภาพใน ภูมิภาค

4.2 แหล่งที่มาของศูนย์ : รัฐบาลมีภารกิจที่สำคัญ คือ การทำให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ทำให้คนไทยมี คุณภาพด้วยการที่สามารถแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ด้วยตนเองได้ตลอดเวลา ดังนั้นสังคมจึงควรมีแหล่งที่จะแสวงหาความรู้ที่มีความหลากหลายในรูปแบบและ เนื้อหา ในประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนมากจะมีแหล่งแสวงหาความรู้สำหรับคนในแต่ละช่วงวัย และมีความสนใจต่างๆ โดยมีทั้งห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ ศูนย์วัฒนธรรม ศูนย์นันทนาการและกีฬา โรงละคร หอศิลป์ และสถานที่แสดงดนตรี รวมทั้งสนับสนุนให้ ชุมชนมีกิจกรรมเพื่อการเติบโตของความรู้ สติปัญญา และความงอกงามของจิตใจ สำหรับประเทศไทยซึ่งจำเป็นต้องขยายโอกาสทางการศึกษา ด้วยสถาบันใหม่ที่จะมารองรับการศึกษายุคปฏิรูปให้ทันกับโลกยุคการเรียนรู้ แบบไร้ขีดจำกัด (school without walls) เพราะคุณภาพชีวิตของคนรุ่นใหม่ให้คุณค่าต่อการศึกษาเรียนรู้ ที่ทำให้สามารถเข้าใจโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สามารถเข้าใจปัญหาที่เผชิญหน้าควบคู่ไปกับความเพลิดเพลิน ประเทศจึงต้องการ "พิพิธภัณฑ์" ในฐานะที่เป็นสถาบันใหม่ที่สะท้อนความมั่นคงของสังคม วัฒนธรรม ลักษณะเฉพาะตน และความภาคภูมิใจในสังคมของตน

4.3 แผนการดำเนินงาน (ถ้ามี) : ใช้เวลาในการดำเนินการ รวม 5 ปี ( ปี 2547 - ปี 2551 )

5. ให้นิสิตแต่ละคนหาตัวอย่างผังโครงสร้างของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ มาคนละ 2 ผังโครงสร้าง พร้อมเขียนอธิบายดังนี้

5.1 แหล่งอ้างอิงของโครงสร้างศูนย์
5.2 โครงสร้างดังกล่าวเป็นประเภทใด เพราะเหตุใด


ผังโครงสร้างของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ ผังที่ 1


5.1 แหล่งอ้างอิงของโครงสร้าง ศูนย์http://www.car.chula.ac.th/downloader2/9dd159a4b396e4c57c34898becb88a95/

5.2 โครงสร้างดังกล่าวเป็นประเภทใด เพราะเหตุใด

ตอบ เป็นแบบ Line and Staff Organization เพราะเป็นหน่วยงานขนาดใหญ่ ซึ่งลำพังผู้บริหารคนเดียวไม่สามารถดำเนินการได้ จึงมีในรูปแบบของคณะกรรมการต่าง ๆ เข้ามาเป็นผู้ช่วยควบคุมการทำงานโดยมีอำนาจทางอ้อมในการดำเนินการนั้น ๆ


ผังโครงสร้างของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ ผังที่ 2


5.1 แหล่งอ้างอิงของโครงสร้างศูนย์

http://library.tu.ac.th/tulib/index.php/about-us/organizations

5.2 โครงสร้างดังกล่าวเป็นประเภทใด เพราะเหตุใด

ตอบ เป็นแบบ Line and Staff Organization เพราะเป็นหน่วยงานขนาดใหญ่ ซึ่งลำพังผู้บริหารคนเดียวไม่สามารถดำเนินการได้ จึงมีในรูปแบบของคณะกรรมการต่าง ๆ เข้ามาเป็นผู้ช่วยควบคุมการทำงานโดยมีอำนาจทางอ้อมในการดำเนินการนั้น ๆ


กิจกรรมสัปดาห์ที่ 4


1. การนำเสนอรายงานดูงานสำนักหอสมุดชั้น 5


2. สรุปหลักการบริหารจัดการ

หลักการบริหารของ Fayol
1. การแบ่งงานกันทำ
2. อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
3. ระเบียบวินัย
4. เอกภาพในการบังคับบัญชา
5. เอกภาพของการอำนวยการ
6. การถือเอาประโยชน์ส่วนรวมก่อนประโยชน์ส่วนตัว
7. การให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมและเป็นธรรม
8. การรวมอำนาจ
9. การมีสายการบังคับบัญชาที่ชัดเจน
10.การจัดระเบียบ
11. ความเสมอภาค
12.ความมั่นคงในการทำงาน
13.ความคิดริเริ่ม
14.ความสามัคคี

หลักการการจัดการที่สำคัญของ Fayol
1. การวางแผน (Planning)
2. การจัดองค์กร (Organizing)
3. การบังคับบัญชา (Command)
4. การประสานงาน (Co-ordination)
5. การควบคุม (Control)

การจัดการตามหลักการบริหาร ของ Oliver Sheldon

Oliver Sheldon ชาวอังกฤษได้พัฒนาความคิดในเรื่องการจัดการและการบริหาร
หลักการของ Sheldon แบ่งออกเป็น 3 ประการ
1. การบริหาร (Administration)
เป็นเรื่องเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายและการประสานงานในหน้าที่ต่างๆ
2. การจัดการ (Management)
เป็นเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายภายในขอบเขตจำกัดซึ่งกำหนดขึ้นโดยฝ่ายบริหาร
3. หน้าที่ในการจัดองค์การ
เป็นกระบวนการประสานงานระหว่างบุคคลหรือระหว่างกลุ่มบุคคล

การจัดการตามหลักการบริหาร POSDCORB

P (Planning) การวางแผน : เป็นการกำหนดสิ่งที่ต้องการและวิธีการให้บรรลุผลตามต้องการ
O (Organizing) การจัดองค์การ : เป็นการกำหนดโครงสร้างที่เป็นทางการของอำนาจ
S (Staffing) การบริหารงานบุคคล
D (Directing) การสั่งการ
CO (Co-ordinating) การประสานงาน
R (Reporting) การรายงานต่อฝ่ายบริหาร
B (Budgeting) การวางแผนการเงิน บัญชีและการควบคุม

3.สรุปการจัดการสำนักหอสมุด

การจัดหมวดหมู่หนังสือในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา

ใช้ระบบการจัดการเก็บแบบระบบทศนิยมดิวอี้ (อังกฤษ: Dewey Decimal Classification) เรียกย่อๆ ว่า D.C. หรือ D.D.C เป็นระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุดระบบหนึ่งซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
การแบ่งหมวดหมู่หนังสือระดับที่ 1 แบ่งตามประเภทของสรรพวิชาใหญ่ๆ 10 หมวด โดยใช้ตัวเลขหลักร้อยเป็นตัวบ่งชี้
000 เบ็ตเตล็ดหรือความรู้ทั่วไป
100 ปรัชญา
200 ศาสนา
300 สังคมศาสตร์
400 ภาษาศาสตร์
500 วิทยาศาสตร์
600 วิทยาศาสตร์ประยุกต์หรือเทคโนโลยี
700 ศิลปกรรมและการบันเทิง
800 วรรณคดี
900 ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์


หอสมุดแบ่งฝ่ายงานต่างๆออกเป็น 7 ฝ่าย ได้แก่

1. สำนักงานเลขานุการ เป็นฝ่ายที่สนับสนุนภารกิจหลักของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา ให้สามารถดำเนินการได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ มีหน้าที่หลักในการดำเนินงานได้แก่ งานสารบรรณ การบริหารงานบุคคล จัดทำแผนและงบประมาณ อาคารสถานที่และยานพาหนะ ประชาสัมพันธ์ การเงินบัญชีและพัสดุ โดยอำนวยความสะดวกและประสานงานระหว่างสำนักหอสมุดกับหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
2. ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบงานให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศแก่ฝ่ายต่าง ๆ ดูแลระบบเครือข่าย จัดการฐานข้อมูล ตลอดจนแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดจากเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์โปรแกรมและเครือข่าย เพื่อให้ฝ่ายต่าง ๆ สามารถใช้เทคโนโลยีในการดำเนินงานและให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแก่ผู้ปฏิบัติงาน ให้สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ฝ่ายบริการสารสนเทศ ฝ่ายบริการสารสนเทศ ทำหน้าที่ให้บริการยืม-คืนหนังสือ/วิทยานิพนธ์ แนะนำการใช้ห้องสมุดและบริการต่าง ๆ ของห้องสมุด รวมทั้งดูแลความเรียบร้อยของชั้นหนังสือ
4. ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ทำหน้าที่คัดเลือก จัดหาหนังสือจากภายในและต่างประเทศให้สอดคล้องกับแผนการเรียนการสอน การศึกษาค้นคว้าวิจัยของมหาวิทยาลัยบูรพารวมทั้งดำเนินงานบำรุงรักษาหนังสือให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์อีกด้วย
5. ฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ทำหน้าที่วิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อ ให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง ทันสมัยและตรงกับความต้องการ โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและวิธีการต่าง ๆ มา ใช้ในการดำเนินงานสร้างฐานข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือ และสื่อโสตทัศน์ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
6. ฝ่ายเอกสารและวารสาร มีขอบเขตความรับผิดชอบดำเนินการคัดเลือก การจัดหา ตรวจรับลงทะเบียนวารสาร หนังสือพิมพ์ และจดหมายข่าว การจัดทำรายการบรรณานุกรมวารสาร การจัดทำดัชนีวารสารการจัดทำหน้าสารบัญวารสาร การจัดทำวารสารสถาบันฉบับเต็ม การเย็บเล่มวารสาร และการดูแลห้องอ่านวารสาร
7. ฝ่ายโสตทัศนศึกษา เป็นหน่วยงานหนึ่งในงานบริการการศึกษา สังกัดสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา มีหน้าที่ในการคัดเลือก จัดหา บริการยืม-คืน สื่อโสตทัศน์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์แก่สมาชิก บริการศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง ห้องมินิโฮมเธียเตอร์ โดยให้บริการเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม ตลอดจน ให้บริการ VIDEO/CD on Demand รายการภาพยนตร์ และนิทรรศการออนไลน์บนเว็บไซต์สำนักหอสมุด


วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

1.ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

มีหน้าที่ส่งเสริมงานด้านการเรียนการสอน ซึ่งมีฐานะเป็นหน่วยงานบริการอย่างหนึ่งหรือเป็นแหล่งกลาง ซึ่งมุ่งให้เน้นให้ผู้ใช้ ได้รู้จักใช้ประโยชน์จากศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ และศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองนอกเหนือจากการเรียนการสอนในห้องเรียน เพื่อจัดประสบการณ์ ให้เกิดกระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพสูงสุด


ตัวอย่างเช่น
1. ศูนย์การเรียนรู้ TLCenter (Technology Learning Center )
ตั้งอยู่ที่ ชั้น 3 อาคารจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนว ถ.แจ้งวัฒนะ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี



2. ศูนย์การเรียนรู้ของเด็กวัยซน
ตั้งอยู่ที่ ที่ชั้น 3 ห้าง Paradise Park ศรีนครินทร์





2. แหล่งการเรียนรู้ในวิดิทัศน์

คือ พิพิธภัณฑ์เครื่องใช้ไม้ไผ่ บ้านบางเจ้าฉ่า จังหวัดอ่างทอง จัดได้ว่า " เป็นศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ " เนื่องจากมีการจัดประสบการณ์ต่างๆให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการจัด นิทรรศการแสดงเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ได้จากไม้ไผ่ มีสื่อจริงให้ชมและเรียนรู้ด้วยตนเอง นอกจากนั้นแล้วยังมีการให้ผู้ที่สนใจได้ทดลองสร้างผลิตภัณฑ์ที่ได้จากไม้ไผ่ด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้เกิดประสบการณ์ตรงอีกด้วย จึงถือเป็นศูนย์การเรียนรู้ชั้นดี ที่จะทำให้ผู้ที่สนใจได้เพิ่มพูนความรู้ให้แก่ตนเอง และสามารถเรียนรู้ได้อย่างง่ายดาย สนุกสนาน และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด


3. แหล่งการเรียนรู้ในวิดิทัศน์ มีสื่ออะไรบ้าง ?

- สื่อจริง ( เครื่องใช้ที่ทำจากไม้ไผ่จริง )
- นิทรรศการ
- การทดลอง