วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 5


1. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ถ้าแบ่งตามกลุ่มเป้าหมายของระบบการศึกษาได้กี่ประเภท อะไรบ้าง จงอธิบาย

ตอบ 3 ประเภท ดังนี้

1. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษาในระบบโรงเรียน หมายถึง หน่วยงานที่สนับสนุนการเรียนการสอนทั้งสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ซึ่งมีการดำเนินการได้หลายลักษณะและมีชื่อเรียกต่างกัน ทั้งศูนย์วัสดุการเรียน, ศูนย์โสตทัศน์และห้องสมุด, ศูนย์วัสดุอุปกรณ์การศึกษา ศูนย์สื่อการสอน, ศูนย์โสตทัศนวัสดุ, ศูนย์วัสดุการสอนหรือศูนย์วัสดุการศึกษา ศูนย์โสตทัศนูปกรณ์หรือหน่วยบริการโสตทัศนูปกรณ์, สำนักเทคโนโลยีการศึกษา, ศูนย์เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา เป็นต้น

2. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษานอกระบบ เป็นศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ ที่มีเป้าหมายโดยมุ่งการให้บริการกับผู้เรียนที่มีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนได้รับความรู้ด้านพื้นฐาน ทักษะในการประกอบอาชีพ และทักษะที่จำเป็นสำหรับความรู้ด้านอื่นๆ เป็นฐานในการดำรงชีวิต เช่น ศูนย์ฝึกอาชีพ, ศูนย์การเรียน เป็นต้น

3. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นศูนย์รวมและให้บริการความรู้โดยมุ่งให้กลุ่มเป้าหมายได้ศึกษาจากประสบการณ์การทำงาน บุคคล ครอบครัว สื่อมวลชน ชุมชน แหล่งความรู้ต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความบันเทิง และการพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ เป็นต้น

2.ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร จงอธิบาย

ตอบ - ประเภทศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษาในระบบโรงเรียน มุ่งสนับสนุนการเรียนการสอนทั้งสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ และมีการดำเนินการในหลายลักษณะ ทั้งศูนย์วัสดุการเรียนและศูนย์โสตทัศน์และห้องสมุด เป็นต้น

- ประเภทศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษานอกระบบ มุ่งให้ผู้เรียนได้รับความรู้พื้นฐาน ทักษะในการประกอบอาชีพ และทักษะที่จำเป็นสำหรับความรู้ด้านอื่นๆ ซึ่งเป็นฐานในการดำรงชีวิต เช่น ศูนย์ฝึกอาชีพ, ศูนย์การเรียน เป็นต้น

- ประเภทศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษาตามอัธยาศั มุ่งผู้เรียนได้ศึกษาจากประสบการณ์การทำงาน บุคคล ครอบครัว สื่อมวลชน ชุมชน แหล่งความรู้ต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความบันเทิง และการพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ เป็นต้น

3.ให้นิสิตหาตัวอย่างศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ประเภท ละ 3 ศูนย์ พร้อมบอกสถานที่ตั้ง และกลุ่มเป้าหมายของศูนย์นั้น ๆ พร้อมแหล่งอ้างอิง

ตอบ - ประเภทศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษาในระบบโรงเรียน

ตัวอย่าง ที่ 1 ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท ปทุมวัน กรุงเทพ 10330 กลุ่มเป้าหมาย : เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาที่เพียบพร้อม สมบูรณ์ด้วยทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภทที่มีมาตรฐาน สามารถให้บริการสนองความต้องการด้านการเรียน การสอน การวิจัย และความใฝ่รู้ของประชาคมมหาวิทยาลัย และสังคม

แหล่งอ้างอิง : http://www.car.chula.ac.th/aboutus/

ตัวอย่าง ที่ 2 ศูนย์โสตทัศนศึกษากลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวหน้า :นายบรรพต สร้อยศรีโทรศัพท์ :0-2218-2947สถานที่ :ชั้น 3 ศูนย์วิทยทรัพยากรe-Mail :banphot.s@car.chula.ac.th

กลุ่มเป้าหมาย : สนับสนุนการเรียนการสอน การค้นคว้าวิจัยของอาจารย์ นิสิต บุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตลอดจนบุคลากรภายนอกมหาวิทยาลัย

แหล่งอ้างอิง : http://www.car.chula.ac.th/aboutus/10/

ตัวอย่าง ที่ 3 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เลขที่ 2 ถนนพระจันทร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200

กลุ่มเป้าหมาย : ส่งเสริมการเรียนการสอน การวิจัยของมหาวิทยาลัย สนับสนุนและบริการทางวิชาการแก่สังคมตามอุดมการณ์ของมหาวิทยาลัย

แหล่งอ้างอิง : http://library.tu.ac.th/tulib/index.php/about-us/vision-mission

- ประเภทศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษานอกระบบ

ตัวอย่าง ที่ 1 ศูนย์ฝึกอาชีพกรุงเทพมหานครบางพลัด ตั้งอยู่ ซอยจรัลสนิทวงศ์ 79 ถนนจรัลสนิทวงศ์ เขตบางพลัด กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 0 2423 2025 – 26

กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ที่สนใจฝึกอบรมอาชีพ

แหล่งอ้างอิง : http://archeep-nutmag10.blogspot.com/2011/01/blog-post_25.html

ตัวอย่าง ที่ 2 ศูนย์ฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยรามคำแหง (หัวหมาก)

ฝ่ายพัฒนาชุมชนฯ สำนักงานเขตบางกะปิ โทร.02369-2823-4

กลุ่มเป้าหมาย : สำหรับผู้ว่างงานและประชาชนทั่วไป
แหล่งอ้างอิง : http://www.info.ru.ac.th/Training%20center-Bkk_in_Ram/index.htm

ตัวอย่าง ที่ 3 ศูนย์ฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร วัดสุทธาวาส บางกอกน้อย วัดสุทธาวาส ถนนจรัญสนิทวงศ์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ ตามนี้เลยครับ 02-412 4611-2

กลุ่มเป้าหมาย : สำหรับผู้ว่างงานและประชาชนทั่วไป

แหล่งอ้างอิง : http://archeep-center.blogspot.com/2010/10/blog-post_4528.html

- ประเภทศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษาตามอัธยาศัย

ตัวอย่าง ที่ 1 มิวเซียมสยามพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ เลขที่ 4 ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200โทรศัพท์ 02 225 2777โทรสาร 02 225 2775

กลุ่มเป้าหมาย : บุคลทั่วไปและบุคคลสนใจ

แหล่งอ้างอิง : http://www.me-dzine.com/place/Museum-Siam.html

ตัวอย่าง ที่ 2 พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้อุตุนิยมวิทยา ณ กรมอุตุนิยมวิทยา บางนา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ประชาสัมพันธ์ กรมอุตุนิยมวิทยา โทร. 02-399-4568 ถึง 74

กลุ่มเป้าหมาย : ผู้สนใจ

แหล่งอ้างอิง : http://www.tmd.go.th/

ตัวอย่าง ที่ 3 พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย ตั้งอยู่เลขที่ 43/2 หมู่ 1 ถ.ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม

กลุ่มเป้าหมาย : บุคลทั่วไปและบุคคลสนใจ

แหล่งอ้างอิง : http://www.nctv.co.th/nakornpathomnctv/hunkeypung.ht

4. ให้นิสิตแต่ละคน หาตัวอย่างของศูนย์สำหรับการศึกษาตามอัธยาศัยมา คนละ 1 ศูนย์ โดยต้องอธิบายดังรายละเอียดต่อไปนี้

4.1 นโยบาย ของศูนย์ วิสัยทัศน์ และกลุ่มเป้าหมายของศูนย์

4.2 แหล่งที่มาของศูนย์

4.3 แผนการดำเนินงาน (ถ้ามี)

ตอบ มิวเซียมสยามพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ เลขที่ 4 ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200โทรศัพท์ 02 225 2777โทรสาร 02 225 2775

4.1 นโยบาย ของศูนย์ วิสัยทัศน์ และกลุ่มเป้าหมายของศูนย์ :

เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ให้ความรู้เรื่องความเป็นมาของ บ้านเมือง จนมาเป็นประเทศไทยในปัจจุบัน เพื่อก่อเกิดการเรียนรู้ สร้างสำนึกรักบ้านเมืองและท้องถิ่นของตน รวมทั้งเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในลักษณะ"เครือญาติ" กับประเทศเพื่อนบ้านอันเป็นองค์ความรู้ที่นำไปสู่ความมั่นคงและสันติภาพใน ภูมิภาค

4.2 แหล่งที่มาของศูนย์ : รัฐบาลมีภารกิจที่สำคัญ คือ การทำให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ทำให้คนไทยมี คุณภาพด้วยการที่สามารถแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ด้วยตนเองได้ตลอดเวลา ดังนั้นสังคมจึงควรมีแหล่งที่จะแสวงหาความรู้ที่มีความหลากหลายในรูปแบบและ เนื้อหา ในประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนมากจะมีแหล่งแสวงหาความรู้สำหรับคนในแต่ละช่วงวัย และมีความสนใจต่างๆ โดยมีทั้งห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ ศูนย์วัฒนธรรม ศูนย์นันทนาการและกีฬา โรงละคร หอศิลป์ และสถานที่แสดงดนตรี รวมทั้งสนับสนุนให้ ชุมชนมีกิจกรรมเพื่อการเติบโตของความรู้ สติปัญญา และความงอกงามของจิตใจ สำหรับประเทศไทยซึ่งจำเป็นต้องขยายโอกาสทางการศึกษา ด้วยสถาบันใหม่ที่จะมารองรับการศึกษายุคปฏิรูปให้ทันกับโลกยุคการเรียนรู้ แบบไร้ขีดจำกัด (school without walls) เพราะคุณภาพชีวิตของคนรุ่นใหม่ให้คุณค่าต่อการศึกษาเรียนรู้ ที่ทำให้สามารถเข้าใจโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สามารถเข้าใจปัญหาที่เผชิญหน้าควบคู่ไปกับความเพลิดเพลิน ประเทศจึงต้องการ "พิพิธภัณฑ์" ในฐานะที่เป็นสถาบันใหม่ที่สะท้อนความมั่นคงของสังคม วัฒนธรรม ลักษณะเฉพาะตน และความภาคภูมิใจในสังคมของตน

4.3 แผนการดำเนินงาน (ถ้ามี) : ใช้เวลาในการดำเนินการ รวม 5 ปี ( ปี 2547 - ปี 2551 )

5. ให้นิสิตแต่ละคนหาตัวอย่างผังโครงสร้างของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ มาคนละ 2 ผังโครงสร้าง พร้อมเขียนอธิบายดังนี้

5.1 แหล่งอ้างอิงของโครงสร้างศูนย์
5.2 โครงสร้างดังกล่าวเป็นประเภทใด เพราะเหตุใด


ผังโครงสร้างของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ ผังที่ 1


5.1 แหล่งอ้างอิงของโครงสร้าง ศูนย์http://www.car.chula.ac.th/downloader2/9dd159a4b396e4c57c34898becb88a95/

5.2 โครงสร้างดังกล่าวเป็นประเภทใด เพราะเหตุใด

ตอบ เป็นแบบ Line and Staff Organization เพราะเป็นหน่วยงานขนาดใหญ่ ซึ่งลำพังผู้บริหารคนเดียวไม่สามารถดำเนินการได้ จึงมีในรูปแบบของคณะกรรมการต่าง ๆ เข้ามาเป็นผู้ช่วยควบคุมการทำงานโดยมีอำนาจทางอ้อมในการดำเนินการนั้น ๆ


ผังโครงสร้างของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ ผังที่ 2


5.1 แหล่งอ้างอิงของโครงสร้างศูนย์

http://library.tu.ac.th/tulib/index.php/about-us/organizations

5.2 โครงสร้างดังกล่าวเป็นประเภทใด เพราะเหตุใด

ตอบ เป็นแบบ Line and Staff Organization เพราะเป็นหน่วยงานขนาดใหญ่ ซึ่งลำพังผู้บริหารคนเดียวไม่สามารถดำเนินการได้ จึงมีในรูปแบบของคณะกรรมการต่าง ๆ เข้ามาเป็นผู้ช่วยควบคุมการทำงานโดยมีอำนาจทางอ้อมในการดำเนินการนั้น ๆ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น