วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 4


1. การนำเสนอรายงานดูงานสำนักหอสมุดชั้น 5


2. สรุปหลักการบริหารจัดการ

หลักการบริหารของ Fayol
1. การแบ่งงานกันทำ
2. อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
3. ระเบียบวินัย
4. เอกภาพในการบังคับบัญชา
5. เอกภาพของการอำนวยการ
6. การถือเอาประโยชน์ส่วนรวมก่อนประโยชน์ส่วนตัว
7. การให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมและเป็นธรรม
8. การรวมอำนาจ
9. การมีสายการบังคับบัญชาที่ชัดเจน
10.การจัดระเบียบ
11. ความเสมอภาค
12.ความมั่นคงในการทำงาน
13.ความคิดริเริ่ม
14.ความสามัคคี

หลักการการจัดการที่สำคัญของ Fayol
1. การวางแผน (Planning)
2. การจัดองค์กร (Organizing)
3. การบังคับบัญชา (Command)
4. การประสานงาน (Co-ordination)
5. การควบคุม (Control)

การจัดการตามหลักการบริหาร ของ Oliver Sheldon

Oliver Sheldon ชาวอังกฤษได้พัฒนาความคิดในเรื่องการจัดการและการบริหาร
หลักการของ Sheldon แบ่งออกเป็น 3 ประการ
1. การบริหาร (Administration)
เป็นเรื่องเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายและการประสานงานในหน้าที่ต่างๆ
2. การจัดการ (Management)
เป็นเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายภายในขอบเขตจำกัดซึ่งกำหนดขึ้นโดยฝ่ายบริหาร
3. หน้าที่ในการจัดองค์การ
เป็นกระบวนการประสานงานระหว่างบุคคลหรือระหว่างกลุ่มบุคคล

การจัดการตามหลักการบริหาร POSDCORB

P (Planning) การวางแผน : เป็นการกำหนดสิ่งที่ต้องการและวิธีการให้บรรลุผลตามต้องการ
O (Organizing) การจัดองค์การ : เป็นการกำหนดโครงสร้างที่เป็นทางการของอำนาจ
S (Staffing) การบริหารงานบุคคล
D (Directing) การสั่งการ
CO (Co-ordinating) การประสานงาน
R (Reporting) การรายงานต่อฝ่ายบริหาร
B (Budgeting) การวางแผนการเงิน บัญชีและการควบคุม

3.สรุปการจัดการสำนักหอสมุด

การจัดหมวดหมู่หนังสือในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา

ใช้ระบบการจัดการเก็บแบบระบบทศนิยมดิวอี้ (อังกฤษ: Dewey Decimal Classification) เรียกย่อๆ ว่า D.C. หรือ D.D.C เป็นระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุดระบบหนึ่งซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
การแบ่งหมวดหมู่หนังสือระดับที่ 1 แบ่งตามประเภทของสรรพวิชาใหญ่ๆ 10 หมวด โดยใช้ตัวเลขหลักร้อยเป็นตัวบ่งชี้
000 เบ็ตเตล็ดหรือความรู้ทั่วไป
100 ปรัชญา
200 ศาสนา
300 สังคมศาสตร์
400 ภาษาศาสตร์
500 วิทยาศาสตร์
600 วิทยาศาสตร์ประยุกต์หรือเทคโนโลยี
700 ศิลปกรรมและการบันเทิง
800 วรรณคดี
900 ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์


หอสมุดแบ่งฝ่ายงานต่างๆออกเป็น 7 ฝ่าย ได้แก่

1. สำนักงานเลขานุการ เป็นฝ่ายที่สนับสนุนภารกิจหลักของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา ให้สามารถดำเนินการได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ มีหน้าที่หลักในการดำเนินงานได้แก่ งานสารบรรณ การบริหารงานบุคคล จัดทำแผนและงบประมาณ อาคารสถานที่และยานพาหนะ ประชาสัมพันธ์ การเงินบัญชีและพัสดุ โดยอำนวยความสะดวกและประสานงานระหว่างสำนักหอสมุดกับหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
2. ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบงานให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศแก่ฝ่ายต่าง ๆ ดูแลระบบเครือข่าย จัดการฐานข้อมูล ตลอดจนแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดจากเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์โปรแกรมและเครือข่าย เพื่อให้ฝ่ายต่าง ๆ สามารถใช้เทคโนโลยีในการดำเนินงานและให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแก่ผู้ปฏิบัติงาน ให้สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ฝ่ายบริการสารสนเทศ ฝ่ายบริการสารสนเทศ ทำหน้าที่ให้บริการยืม-คืนหนังสือ/วิทยานิพนธ์ แนะนำการใช้ห้องสมุดและบริการต่าง ๆ ของห้องสมุด รวมทั้งดูแลความเรียบร้อยของชั้นหนังสือ
4. ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ทำหน้าที่คัดเลือก จัดหาหนังสือจากภายในและต่างประเทศให้สอดคล้องกับแผนการเรียนการสอน การศึกษาค้นคว้าวิจัยของมหาวิทยาลัยบูรพารวมทั้งดำเนินงานบำรุงรักษาหนังสือให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์อีกด้วย
5. ฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ทำหน้าที่วิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อ ให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง ทันสมัยและตรงกับความต้องการ โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและวิธีการต่าง ๆ มา ใช้ในการดำเนินงานสร้างฐานข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือ และสื่อโสตทัศน์ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
6. ฝ่ายเอกสารและวารสาร มีขอบเขตความรับผิดชอบดำเนินการคัดเลือก การจัดหา ตรวจรับลงทะเบียนวารสาร หนังสือพิมพ์ และจดหมายข่าว การจัดทำรายการบรรณานุกรมวารสาร การจัดทำดัชนีวารสารการจัดทำหน้าสารบัญวารสาร การจัดทำวารสารสถาบันฉบับเต็ม การเย็บเล่มวารสาร และการดูแลห้องอ่านวารสาร
7. ฝ่ายโสตทัศนศึกษา เป็นหน่วยงานหนึ่งในงานบริการการศึกษา สังกัดสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา มีหน้าที่ในการคัดเลือก จัดหา บริการยืม-คืน สื่อโสตทัศน์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์แก่สมาชิก บริการศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง ห้องมินิโฮมเธียเตอร์ โดยให้บริการเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม ตลอดจน ให้บริการ VIDEO/CD on Demand รายการภาพยนตร์ และนิทรรศการออนไลน์บนเว็บไซต์สำนักหอสมุด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น