วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 11

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 การประสานงาน CO-ORDINATIO

1. สิ่งสำคัญเบื้องต้นของการประสานงานมีอะไรบ้าง
ตอบ
1. การจัดวางหน่วยงานที่ง่ายและเหมาะสม
2. การมีโครงการและนโยบายอันสอดคล้องกัน
3. การมีวิธีติดต่องานภายในองค์การที่ทำไว้ดี
4. มีเหตุที่ช่วยให้มีการประสานงานโดยสมัครใจ
5. การประสานงานโดยวิธีควบคุม

2.เทคนิคการประสานงาน (Techniques Coordination) มีอะไรบ้าง
ตอบ

1. จัดให้มีระบบการติดต่อสื่อสารทั้งภายในหน่วยงานและภายนอกหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ
2. การกำหนดอำนาจหน้าที่และตำแหน่งงานอย่างชัดเจน
3. การสั่งการและการมอบหมายอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
4. การใช้คณะกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ประสานงานโดยเฉพาะการประสานงานภายในองค์การ
5. การจัดให้มีการประสานงานระหว่างพนักงานในองค์การ
6. การจัดให้มีการฝึกอบรมและพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา
7. การติดตามผล

3.จงอธิบายอุปสรรคของการประสานงาน มาพอเข้าใจ
ตอบ

อุปสรรคในการประสานงานนั้นจะแตกต่างกันในส่วนต่าง แยกเป็นข้อสรุปได้ดังนี้

- การขาดความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้วยกันจะกลายเป็นสาเหตุทำให้การติดต่อประสานงานที่ควรดำเนินไปด้วยดี ไม่สามารถกระทำได้
- การขาดผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหารที่มีความสามารถ
- การปฏิบัติงานไม่มีแผน
- การก้าวก่ายหน้าที่การงาน
- การขาดการติดต่อสื่อสารที่ดี
- การขาดการนิเทศงานที่ดี
- ความแตกต่างกันในสภาพและสิ่งแวดล้อม
- การดำเนินนโยบายต่างกันเป็นอุปสรรคต่อการประสานงาน
- ประสิทธิภาพของหน่วยงานต่างกันจะเป็นการยากที่จะก่อให้เกิดมีความร่วมมือและประสานงานกัน
- การทำหน้าที่ความรับผิดชอบและอำนาจไม่ชัดแจ้ง
- ระยะทางติดต่อที่มีความไกลกัน
- เทคนิคและวิธีการปฏิบัติงานในแต่ละหน่วยงานแตกต่างกัน


4.จากทฤษฎีที่ศึกษามานิสิตคิดว่าศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ใดบ้างที่มีปัจจัยที่ทำให้เกิดการประสานงานที่ดี จงยกตัวอย่างศูนย์ฯ พร้อมอธิบาย
ตอบ

ตัวอย่างเช่น สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา เพราะมีการแบ่งฝ่ายงานอย่างเป็นระบบ มีการทำงานที่สอดคล้องต่อเนื่องกัน โดยทุกๆฝ่ายจะมีการประสานงานและทำงานร่วมกันอย่างมีระบบ และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ



แบบฝึกหัดท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 10

1. การรายงานผลมีความสำคัญอย่างไร ต่อการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

ตอบ
การรายงานผลการดำเนินงานการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นส่วนสำคัญในการแสดงข้อมูลอย่างเป็นระบบ
ให้กับผู้บังคับบัญชา หรือสาธารณชนได้รับทราบผลการดำเนินงาน รายละเอียดเกี่ยวกับองค์ประกอบรายการต่างๆ และเป็นการนำเสนอเพื่อปรับปรุงในการดำเนินงานในช่วงระยะเวลาต่อๆ ไปในอนาคต

วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดท้ายบท หน่วยการเรียนรู้ที่ 7

1. กระบวนการผลิตทรัพยากรการเรียนรู้มีกี่ขั้นตอนอะไรบ้าง
ตอบ 7 ขั้นตอน ดังนี้
1. กำหนดจุดมุ่งหมายและบทบาทของสื่อให้ชัดเจน
2. เลือกสื่อที่เหมาะสม
3. ออกแบบสื่อ
4. ผลิตสื่อ
5. ทดสอบสื่อ
6. เผยแพร่สื่อ และนำไปใช้
7. การตรวจสอบและบำรุงรักษาสื่อ

2. รูปแบบของการให้บริการทรัพยากรการเรียนรู้มีกี่ประเภท อะไรบ้าง จงยกตัวอย่างพร้อมอธิบาย
ตอบ
1. แบบสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทเดียว คือ เป็นการให้บริการเฉพาะสื่อสิ่งพิมพ์
ตัวอย่างเช่น หนังสือ นิตยสาร เป็นต้น
2. แบบผสมผสานระหว่างสื่อสิ่งพิมพ์และอิเล็กทรอนิกส์ คือ เป็นการให้บริการให้ความรู้ทั้งหนังสือ วารสาร นิตยสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่บรรจุเนื้อหาในรูปแบบของดิจิทัล
ตัวอย่างเช่น E-book เป็นต้น
3. แบบบริการทรัพยากรการเรียนรู้สมบูรณ์ คือ การจัดสื่อสิ่งพิมพ์ และวัสดุ อุปกรณ์ สื่อโสตทัศน์ที่หลากหลายมารวมไว้ในจุดบริการเดียวกัน ด้วยวิธีระบบ
ตัวอย่างเช่น multimedia เป็นต้น
4. แบบนิทรรศการ โดยนำเสนอในรูปแบบของการบริการให้ความรู้ ในรูปแบบของนิทรรศการถาวร
ตัวอย่างเช่น การจัดแสดงของศูนย์วิทยาศาสตร์ เป็นต้น
5. แบบบันเทิงศึกษา (Edutainment) หมายถึง สถานที่ที่ให้บริการความเรียนรู้ที่รวบรวมรวมสื่อ วัสดุ อุปกรณ์และวิธีการที่หลากหลายแบบมาบูรณาการ
ตัวอย่างเช่น ท้องฟ้าจำลอง เป็นต้น

3. การบริการทรัพยากรการเรียนรู้คืออะไร
ตอบ การบริการทรัพยากรการเรียนรู้ คือ กิจกรรมที่นักเทคโนโลยีการศึกษา หรือผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบซึ่งแสดงถึงจิตใจ และพฤติกรรมการแสดงออกในการให้ความรู้ ด้วยทรัพยากรทั้งวัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการ ถึงการให้ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งเพื่อให้ผู้รับนั้นพึงพอใจ และเกิดการเรียนรู้จากทรัพยากรการเรียนรู้นั้น ๆ
4. ขอบข่ายของงานบริการทรัพยากรการเรียนรู้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ
1. ผลิตสื่อ
• ออกแบบและพัฒนาสื่อเพื่อการเรียนรู้
• ส่งเสริมการน าเสนอสื่อในรูปแบบใหม่
2. เผยแพร่
• ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข่าวสารต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
3. ให้ความรู้
• นำสื่อในรูปแบบที่หลากหลายมากให้กลุ่มเป้าหมายได้ศึกษา โดยมีการให้คำแนะนำหรืออาจมีกิจกรรมเช่น นิทรรศการ จัดฝึกอบรม ต่าง ๆ

วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 6

1. อธิบายภารกิจหรือกิจกรรมที่สาคัญ ๆ ของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้มีอะไรบ้าง

ตอบ 1. การเลือก จัดหา การลงทะเบียน ทาบัตรรายการ การบริการการใช้ ตลอดจนเก็บบารุงรักษาวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอนต่างๆ

2. การผลิตสื่อการสอน เช่น ผลิตวัสดุกราฟิก การบันทึกเสียง ทารายการวิทยุและโทรทัศน์

3. จัดกิจกรรมทางวิชาการ เช่น การฝึกอบรมครูประจาการ การวิจัย การจัดนิทรรศการ ตลอดจนการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ฯลฯ

4. การบริหาร เช่น การจัดบุคลากร การนิเทศ การบันทึกรายการ การติดต่อประสานงานและการทางบประมาณ เป็นต้น

5. การประเมินกิจกรรมต่างๆ

2. ถ้าหากพิจารณาบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ จะประกอบด้วยบุคคลด้านใดบ้าง

ตอบ 1. ด้านบริหาร โดยต้องมีการกาหนดวิสัยทัศน์ จุดมุ่งหมายและภารกิจต่างๆ ให้ครอบคลุมงานหรือสิ่งที่ต้องทา

2. ด้านการบริการ เป็นภารกิจของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ที่นาโครงการต่างๆออกสู่ กลุ่มเป้าหมาย

3. ด้านวิชาการ ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ต้องมีบทบาทและหน้าที่ในการศึกษาค้นคว้า พัฒนาและเผยแพร่ผลงาน สร้างวัตกรรมใหม่เกี่ยวกับการผลิตและการใช้สื่อ จัดการฝึกอบรม การเผยแพร่ความรู้ การประเมินคุณภาพสื่อ การประเมินการบริการ

4. ด้านการปรับปรุงการเรียนการสอน ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ต้องมีภารกิจหน้าที่ความรับผิดชอบต่อการศึกษาเป็นสำคัญในการจัดหาสื่อมาใช้ในการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและเนื้อหาแต่ละวิชา ตามความจาเป็นให้เพียงพอและยังมีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือแก่ครูอาจารย์ในด้านต่างๆเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษา

5. ด้านกิจกรรมอื่น เช่น มีบทบาทหน้าที่ประชาสัมพันธ์สถาบันต่อชุมชนจัดนิทรรศการหรือจัดการแสดงความก้าวหน้าต่างๆ ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ควรมีกิจกรรมเพื่อให้ความรู้แก่สังคมและจัดแสดงสาธิตนวัตกรรมและเทคโนโลยีให้กับผู้สนใจ การจัดกิจกรรมลักษณะนี้ถือว่าเป็นการประชาสัมพันธ์อย่างหนึ่ง

3. ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ จำแนกเป็นประเภทที่สาคัญได้กี่ประเภท

ตอบ ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สามารถแบ่งได้ 3 ประเภทใหญ่ๆคือ

1. บุคลากรทางวิชาชีพ (Professional Staff) ได้แก่ บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ทางด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาหรือโสตทัศนศึกษาระดับปริญญาซึ่งถือว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ (Media Specialists) หรือบางที่อาจเรียกว่านักวิชาการการโสตทัศนศึกษาก็ได้ส่วนใหญ่บุคลากรกลุ่มนี้จะทาหน้าที่เป็นหัวหน้าหรือผู้บริหาร

2. บุคลากรกึ่งวิชาชีพ (Paraprofessional Staff) บุคลากรกึ่งวิชาชีพ คือ บุคคลที่ได้วุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพโดยมีหน้าที่ช่วยเหลือบุคลากรทางวิชาชีพเกี่ยวกับด้านเทคนิคหรือด้านบริการ บุคลากรกึ่งวิชาชีพ

3. บุคลากรที่ไม่มีความรู้ทางวิชาชีพ (Non-professional Staff) บุคลากรประเภทนี้ทาหน้าที่ทางด้านธุรกิจ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ฯลฯ ซึ่งจะมีคุณวุฒิหลากหลายจะใช้ความรู้ความชานาญเฉพาะในหน้าที่ของตน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าจานวนบุคคลในแต่ละประเภทจะมีมากหรือน้อยย่อมขึ้นอยู่กับนโยบาย ขนาดหรือปริมาณของงาน ขอบเขตของการให้บริการ ลักษณะของระบบงานบริการ จานวนผู้ใช้บริการ และงบประมาณของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้แต่ละแห่งเป็นสาคัญ

4. ท่านมีขั้นตอนในการจัดหาสื่อการเรียนการสอน มาใช้บริการในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้อย่างไร จงอธิบาย

ตอบ 1. การจัดหาสื่อเพื่อบริการ

2. การดาเนินการบริการ

3. การบำรุงรักษาสื่อ

4. การฝึกอบรม การวิจัย การพัฒนา ฯลฯ

5. การประเมิน

6. การประชาสัมพันธ์

5. อธิบายวิธีการจัดซื้อจัดหาวัสดุครุภัณฑ์เพื่อมาใช้ในกิจกรรมและบริการ ท่านมีหลักเกณฑ์สาคัญ อะไรบ้าง

ตอบ การจัดการหาสื่อเพื่อบริการ ในการจัดหาสื่อมาไว้บริการภายในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว มีระบบ ระเบียบ สามารถแบ่งออกเป็นขันตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 เป็นขั้นการสารวจสภาพของสื่อในสถานศึกษาเพื่อสารวจหาข้อเท็จจริงเบื้องต้นเป็นข้อมูลมาประกอบการจัดหา ได้แก่

1. การสำรวจสื่อวัสดุ (Materials) การสารวจสื่อวัสดุมีรายการที่ต้องการทราบ คือ

- ชนิดของวัสดุ